แครนเบอรี่ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Vaccinium macrocarpon เป็นผลไม้ตระกูลเบอรี่ มีลักษณะเป็นไม้เลื้อยที่นิยมปลูกเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ในประเทศสหรัฐอเมริกา ผลแครนเบอรี่มีสีแดงสด และมีรสเปรี้ยวอมหวาน สามารถนํามาบริโภคทั้งในรูปผลสด ผลตากแห้ง และน้ำคั้น
แครนเบอรี่เป็นผลไม้ที่ประกอบไปด้วยสารพฤกษเคมี (Phytochemicals) ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สารพฤกษเคมีที่สําคัญในแครนเบอรี่ได้แก่ โปรแอนโธไซยานิดิน (Proanthocyanidins), คาเทชิน (Catechins), ไตรเทอปีนอยด์ (Triterpenoids), กรดควินิค (Quinic acid), กรดฮิพพิวริค (Hippuric acid) และแทนนิน (Tannin) โดยเฉพาะสารโปรแอนโธไซยานิดิน สามารถป้องกันการยึดเกาะของแบคทีเรียกับเนื้อเยื่อในร่างกาย ด้วยเหตุนี้แครนเบอรี่ จึงถูกนําไปใช้ในการป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ แผลในกระเพาะอาหาร และการเกิดคราบจุลินทรีย์บนผิวฟัน นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจึงช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด อีกทั้งมีรายงานว่าการบริโภคแครนเบอรี่สามารถลดการเจริญเติบโตของเซลลมะเร็งเต้านมในสัตว์ทดลอง ความเป็นกรดอ่อนๆของแครนเบอรี่ยังช่วยป้องกันการเกิดนิ่วในไตได้อีกด้วย (อ้างอิงที่ 1)
นอกจากนี้มีรายงานทางการแพทย์มากมายเกี่ยวกับการบริโภคแครนเบอรี่ว่าสามารถลดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม, มะเร็งลำไส้, มะเร็งต่อมลูกหมาก, มะเร็งปอด และอื่นๆ ได้อีกมากมาย (อ้างอิงที่ 2)
สรุปคุณประโยชน์ของแครนเบอรี่กับงานวิจัยทางการแพทย์
ลดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
1. สารสกัดจากแครนเบอรี่นั้นถูกใช้ในการรักษาและป้องกันโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ (UTIs) มาเป็นระยะเวลานานแล้ว ในด้านกลไกในการยับยั้งการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะนั้น ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด แต่มีงานวิจัยสนับสนุนว่า Proanthocyanidins (cPACs) ที่พบมากในแครนเบอรี่นั้นจะไปยับยั้ง flagella ที่ใช้สำหรับเคลื่อนที่ของ Uropathogenic Escherichia coli (UPEC) ทำให้ความสามารถในการเคลื่อนที่และจับรวมกลุ่มกันของ UPEC ลดลง จึงช่วยป้องกันโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ (UTIs) ได้ (อ้างอิงที่ 3-5)
2. ผู้หญิงที่ได้รับสารสกัดจากแครนเบอรี่ต่อเนื่องกัน สามารถจะช่วยยับยั้งการยึดเกาะตัวของ E. coli ได้อย่างมีนัยสำคัญ (p value <0.0001) เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ได้รับสารสกัดจากผลแครนเบอรี่ (อ้างอิงที่ 6)
3. เด็กและสตรีผู้สูงอายุ เมื่อรับประทานน้ำแครนเบอรี่ต่อเนื่องกัน สามารถลดการติดเชื้อซ้ำๆ บ่อยๆ ของโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ได้อย่างมีนัยสำคัญ (อ้างอิงที่ 7-8)
4. การรับประทานสารสกัดจากแครนเบอรี่ 500 มิลลิกรัม เพื่อเปรียบเทียบกับยา Trimethoprim ในการป้องกันการเป็นซ้ำของโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบในผู้หญิงวัยสูงอายุ เป็นระยะเวลา 6 เดือน พบว่าสารสกัดจากแครนเบอรี่สามารถป้องกันได้ แต่ได้ผลต่ำกว่ายา Trimethoprim อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุให้การยอมรับสารสกัดจากแครนเบอรี่มากกว่ายา Trimethoprim เนื่องจากสารสกัดจากแครนเบอรี่เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ซึ่งให้ผลข้างเคียงต่ำกว่าในการทำให้เชื้อดื้อยา และการเกิดการติดเชื้อราและ Clostridium difucile ซ้ำซ้อน เมื่อเทียบกับยา Trimethoprim อีกทั้งยังมีราคาถูกกว่าอีกด้วย (อ้างอิงที่ 9)
5. การดื่มน้ำแครนเบอรี่ 500 มิลลิลิตร แล้วดื่มน้ำตาม 1,500 มิลลิลิตร (1.5 ลิตร) ในผู้ชายแอฟริกาใต้ สามารถป้องกันการตกตะกอนของ Calcium oxalate ที่เป็นสาเหตุของนิ่วที่ไตได้อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับการดื่มน้ำเปล่าอย่างเดียว (อ้างอิงที่ 10)
ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
การรับประทานแครนเบอรี่ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่ม Flavonoids (แอนโธไซยานิน (Anthocyanin)), ฟลาโวนอล (Flavonols) และโปรแอนโธไซยานิดิน (Proanthocyanidins) ) โดยที่ Flavonoids จะไปยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของโคเลสเตอรอลตัวร้าย (LDL) ทำให้ป้องกันการเกิด Oxidized LDL ที่เป็นสาเหตุของหลอดเลือดตีบและอุดตันได้ (อ้างอิงที่ 11)
สารต้านอนุมูลอิสระจากแครนเบอรี่ สามารถเหนี่ยวนำให้ตัวรับ LDL ที่ตับทำงานมากขึ้น เป็นผลทำให้เพิ่มการขับออกของ LDL จากระบบไหลเวียนของเลือด และเพิ่มการนำโคเลสเตอรอลเข้าสู่เซลล์ตับเพื่อขับออกได้ ทำให้ลดโคเลสเตอรอลได้ (อ้างอิงที่ 12)
สุขภาพในช่องปาก
1. น้ำแครนเบอรี่มีส่วนประกอบของ High molecular weight non-dialyzable material (NDM) ซึ่งสามารถยับยั้งการยึดเกาะและการรวมตัวกันของแบคทีเรียในช่องปากหลายชนิด ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคทางช่องปาก การเกิดคราบหินปูน และจุลินทรีย์บนผิวฟันได้ (อ้างอิงที่ 13-15)
2. Proanthocyanidins ที่ได้จากน้ำแครนเบอรี่เข้มข้นนั้น สามารถลดสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ (Inflammatory mediator) ที่สร้างมาจากเซลล์ gingival fibroblasts เช่น Interleukin (IL-6,IL-8) และ PGE(2) ในโรคปริทันต์ (Periodontitis) เป็นผลให้สามารถลดขบวนการอักเสบได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ดีที่จะพัฒนาเป็นสารช่วยในการรักษาโรคปริทันต์ (Periodontitis) ต่อไป (อ้างอิงที่ 16)
โรคมะเร็ง
1. Proanthocyanidins ที่พบมากใน Cranberry นั้น พบว่ามีการทดสอบในหลอดทดลองว่ามีผลในการทำลายเซลล์มะเร็งรังไข่ได้ โดยจากการทดลองพบว่าการให้ Proanthocyanidins เดี่ยวๆ จะเหนี่ยวนำให้เซลล์มะเร็งตายลง (Apoptotic change) หรือเมื่อให้ร่วมกับยารักษามะเร็งรังไข่ (Paraplatin) จะเสริมฤทธิ์ยารักษาในการลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้ (อ้างอิงที่ 17)
2. การให้น้ำแครนเบอรี่วันละ 250 ml ร่วมกับการได้รับยาฆ่าเชื้อในกระเพาะอาหาร สามารถเพิ่มอัตราการทำลายเชื้อได้สูงขึ้นในเพศหญิงในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ Helicobacter pylori (H.pylori ) ทั้งนี้ H.pylori เป็นเชื้อที่พบในกระเพาะอาหาร หากติดเชื้อเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้เป็นมะเร็งในกระเพาะอาหารได้ (อ้างอิงที่ 18)
3. การให้น้ำแครนเบอรี่ 250 ml ในผู้ที่ติดเชื้อ H. pylori โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองที่ได้รับน้ำแครนเบอรี่ และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับน้ำแครนเบอรี่ ผลปรากฏว่ากลุ่มทดลองที่ได้รับน้ำแครนเบอรี่ สามารถที่จะยับยั้งการติดเชื้อ H. pylori ได้อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับน้ำแครนเบอรี่ (อ้างอิงที่ 19-20)
4. Proanthocyanidins ที่พบมากใน Cranberry นั้น สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของยีนมะเร็งและนำไปสู่การตายของเซลล์มะเร็งปอด (rapid induce of apoptosis) (อ้างอิงที่ 21)
5. Cranberry ประกอบไปด้วยสารพฤกษเคมี (Phytochemicals) โดยที่สารประกอบ Flavonoids (Proanthocyanidins) เป็นตัวที่กล่าวถึงในการเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็ง (Apoptosis) โดยจากการศึกษาพบว่า Proanthocyanidins เป็นสารที่ยับยั้งกลไกการเติบโตของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากด้วยหลายกลไก และพบว่าเป็นตัวเลือกที่ดีที่จะพัฒนาเป็นยาต้านมะเร็งต่อไป (อ้างอิงที่ 22-24)
ข้อควรระวัง
การรับประทานน้ำแครนเบอรี่มีข้อควรระวังคือ ไม่ควรรับประทานมากเกินไปในผู้ที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด (Warfarin) เนื่องจากมีงานวิจัยพบว่า การรับประทานน้ำแครนเบอรี่มากกว่าวันละ 1.42 ลิตร มีผลทำให้มีโอกาสเลือดออกภายในได้ (Hemorrhage) อย่างไรก็ตาม หากรับประทานแต่น้อย จะไม่มีอันตราย เนื่องจากมีอีกงานวิจัยสนับสนุนว่าการรับประทานน้ำแครนเบอรี่ วันละ 240 มิลลิลิตร วันละ 2 ครั้งติดต่อกันเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ ในผู้ที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด (Warfarin) ไม่มีอันตรายจากภาวะเลือดออกภายในแต่อย่างใด (อ้างอิงที่ 25-26)
เอกสารอ้างอิง
แครนเบอร์รี่ดีกับสุขภาพจริงหรือ?, ดร.นัฐพล ตั้งสุภูมิ, สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล http://www.inmu.mahidol.ac.th/th/
Cranberry and its phytochemicals: a review of in vitro anticancer studies. J Nutr. 2007 Jan;137(1 Suppl):186S-193S
Cranberry Materials Inhibit Escherichia coli CFT073 fliC Expression and Motility. Appl Environ Microbiol. 2011 Aug 5. [Epub ahead of print]
A-type cranberry proanthocyanidins and uropathogenic bacterial anti-adhesion activity. Phytochemistry. 2005 Sep;66(18):2281-91
Inhibition of adherence of multi-drug resistant E. coli by proanthocyanidin. Urol Res. 2011 Jun 19
Inhibitory activity of cranberry extract on the bacterial adhesiveness in the urine of women: an ex-vivo study. Int J Immunopathol Pharmacol. 2010 Apr-Jun;23(2):611-8
Overview on cranberry and urinary tract infections in females. J Clin Gastroenterol. 2010 Sep;44 Suppl 1:S61-2
Cranberry juice for the prevention of recurrent urinary tract infections: a randomized controlled trial in children. Scand J Urol Nephrol. 2009;43(5):369-72
Cranberry or trimethoprim for the prevention of recurrent urinary tract infections? A randomized controlled trial in older women. J Antimicrob Chemother. 2009 Feb;63(2):389-95. Epub 2008 Nov 28
Influence of cranberry juice on the urinary risk factors for calcium oxalate kidney stone formation. BJU Int. 2003 Nov;92(7):765-8
Cranberry flavonoids, atherosclerosis and cardiovascular health. Crit Rev Food Sci Nutr. 2002;42(3 Suppl):301-16
Cranberries inhibit LDL oxidation and induce LDL receptor expression in hepatocytes. Life Sci. 2005 Aug 26;77(15):1892-901
Inhibitory effect of cranberry juice on the colonization of Streptococci species: An in vitro study. J Indian Soc Periodontol. 2011 Jan;15(1):46-50
Effect of a high-molecular-weight component of cranberry on constituents of dental biofilm. J Antimicrob Chemother. 2004 Jul;54(1):86-9. Epub 2004 May 26
Cranberry polyphenols: potential benefits for dental caries and periodontal disease. J Can Dent Assoc. 2010;76:a130
Cranberry components inhibit interleukin-6, interleukin-8, and prostaglandin E production by lipopolysaccharide-activated gingival fibroblasts. Eur J Oral Sci. 2007 Feb;115(1):64-70
Cranberry proanthocyanidins are cytotoxic to human cancer cells and sensitize platinum-resistant ovarian cancer cells to paraplatin. Phytother Res. 2009 Aug;23(8):1066-74
Effect of cranberry juice on eradication of Helicobacter pylori in patients treated with antibiotics and a proton pump inhibitor.Mol Nutr Food Res. 2007 Jun;51(6):746-51
Efficacy of cranberry juice on Helicobacter pylori infection: a double-blind, randomized placebo-controlled trial. Helicobacter. 2005 Apr;10(2):139-45
Growth inhibitory action of cranberry on Helicobacter pylori. J Gastroenterol Hepatol. 2008 Dec;23 Suppl 2:S175-80
Cranberry proanthocyanidins mediate growth arrest of lung cancer cells through modulation of gene expression and rapid induction of apoptosis. Molecules. 2011 Mar 11;16(3):2375-90
North American cranberry (Vaccinium macrocarpon) stimulates apoptotic pathways in DU145 human prostate cancer cells in vitro. Nutr Cancer. 2011 Jan;63(1):109-20
Proanthocyanidins from the American Cranberry (Vaccinium macrocarpon) inhibit matrix metalloproteinase-2 and matrix metalloproteinase-9 activity in human prostate cancer cells via alterations in multiple cellular signalling pathways. J Cell Biochem. 2010 Oct 15;111(3):742-54
North American cranberry (Vaccinium macrocarpon) stimulates apoptotic pathways in DU145 human prostate cancer cells in vitro. Nutr Cancer. 2011 Jan;63(1):109-20
Effect of high-dose cranberry juice on the pharmacodynamics of warfarin in patients. Br J Clin Pharmacol. 2010 Jul;70(1):139-42
Warfarin-cranberry juice interaction. Ann Pharmacother. 2011 Mar;45(3):e17. Epub 2011 Mar 1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น